Latest News

Monday, July 25, 2011

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ และประวัติไม้ม้วน

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่     ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ     มิหลงใหลใครขอดู
จักใคร่ลงเรือใบ     ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้     มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว     หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง     ยี่สิบม้วนจำจงดี

              ไม้ม้วนมีปรากฏในภาษาเขียนของไทย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง ของพ่อขุนรามคำแหง ในคำว่า ใคร ใคร่ ใด ใส ใหญ่ ใน ให้ ใช้ ใต้ ใศ่ ใว้ เป็นต้น เสียงสระของไม้ม้วนในภาษาไทยปัจจุบันส่วนใหญ่ออกเสียงเหมือนไม้มลาย (ไ) แต่ในสมัยโบราณเสียงสระสองเสียงนี้แตกต่างกัน ยังมีร่องรอยให้เห็นในภาษาไทยถิ่นและในภาษาไทกลุ่มต่าง ๆ นอกประเทศไทย นอกจากภาษาไทยสยามแล้วยังมีภาษาไทกลุ่มอื่นเช่น ภาษาลาว และ ภาษาไทใหญ่ ที่ปรากฏสระนี้ในภาษาเขียน

                ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีตำราเรียนระบุการใช้ไม้ม้วน ในคำศัพท์จำนวน 20 คำ โดยมีคำกลอนแต่งไว้ในหนังสือจินดามณีดังนี้

ใฝ่ใจแลให้ทาน     ทังนอกในแลใหม่ใส
ใครใคร่แลยองใย     อันใดใช้แลใหลหลง
ใส่กลสใพ้ใบ้     ทังใต้เหนือแลใหญ่ยง
ใกล้ใบแลใช้จง     ญี่สิบม้วนคือวาจา

                  ส่วนในหนังสือหนังสือประถมมาลา แต่งโดยพระเทพโมลี (ผึ้ง) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ให้หลักการใช้ไม้ม้วน โดยที่สองบทท้ายเป็นคำกลอนจากตำราจินดามณีนั่นเอง ดังนี้

หนึ่งไซร้หมู่ไม้ม้วน     ปราชประมวลแต่บูราณ
จักลอกจำลองสาร     ตามอาจารย์บังคับไข
ใฝ่ใจให้ทานนี้     นอกในมีแลใหม่ใส
ใครใคร่แลยองใย     อันใดใช้อย่าใหลหลง
ใส่กลสะใภ้ใบ้     ทั้งต่ำใต้และใหญ่ยง
ใกล้ใบแลใช่จง     ใช้ให้คงคำบังคับ
                 เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสยามนั้นการใช้ไม้ม้วนจำกัดอยู่ที่คำศัพท์ 20 คำ มาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นอย่างน้อย และคำศัพท์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น จะใช้ไม้มลายทั้งสิ้น (เว้นแต่ลูกคำที่แตกจากแม่คำ ซึ่งใช้ไม้ม้วนอยู่แล้ว) แม้คำศัพท์เฉพาะ ที่เป็นชื่อต่างๆ ก็ไม่นิยมที่จะใช้ไม้ม้วนนอกเหนือจาก 20 คำดังกล่าว

พอดีลืมครับ เลยสงสัยไม่ได้เขียนซะนานเหมือนกัน

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99

no image
  • Blogger Comments
  • Facebook Comments

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

Top